สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)
ปรัชญา : มุ่งให้การผลิตบัณฑิตมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากลให้การผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษาอยู่บนฐานความเชื่อว่าการศึกษาพิพัฒนนิยม (Progressivism) ซึ่งเป็นปรัชญาการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง โดยผู้สอนจะต้องจัดสภาพการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการศึกษาของผู้เรียน ให้อิสระ เสรีภาพในการเรียน การค้นคว้า วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ในการนําองค์ความรู้จากหลักสูตรฯ ไปประยุกตใช้ในการทํางานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุข ตามบริบทสถานการณ์จริง และสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพที่มีความเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาประสบการณ์และความรู้โดยไม่หยุดนิ่ง เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้ ด้วยตนเองผ่านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ Problem Based Learning, Situation analysis และ Participatory Learning Development ซึ่งจะนําไปสู่บัณฑิตที่มีความสามารถในการเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ : เพื่อผลิตบัณฑิตที่
1) มีความรู้ และทักษะทางด้านสาธารณสุข โดยประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี เทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลสุขภาพ และสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ
2) สามารถสร้างโครงการจัดการสุขภาพชุมชนแบบปฐมภูมิในภาวะวิกฤตทางสุขภาพและภัยสาธารณสุข โดยสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์โลกที่มีความเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ
3) มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน มีจริยธรรมทางวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
4) เป็นนักสาธารณสุขที่จัดบริการด้านสาธารณสุข และสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตหรือภัยสุขภาพได้
บัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ สามารถเป็นผู้ประกอบอาชีพในตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
1 นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง กรมควบคุมโรค สำนัก และกองต่างๆ และส่วนภูมิภาค ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2 นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3 นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข ทั้งในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน
4 นักวิชาการสาธารณสุขหรือผู้ช่วยวิจัยในหน่วยงานด้านสาธารณสุขในระดับองค์กรระหว่างประเทศ
5 นักสาธารณสุข
6 นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย
7 ประกอบอาชีพอิสระด้านสุขภาพและสาธารณสุข
PLO 1 ประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และควบคุมโรค
PLO 2 ออกแบบการจัดการสุขภาพชุมชนแบบปฐมภูมิ ตามบริบทสถานการณ์จริง และภาวะวิกฤตทางสุขภาพ
PLO 3 เลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ ร่วมกับการสื่อสารข้อมูลด้วยภาษาต่างประเทศ
PLO 4 ปรับตัวต่อสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพที่มีความเปลี่ยนแปลง โดยแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ
PLO 5 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน จริยธรรมทางวิชาการ รับผิดชอบต่อสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
PLO 6 แสดงสมรรถนะการเป็นนักจัดการสุขภาพที่สามารถพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพโดยใช้ข้อมูลมหัต ภายใต้ความหลากหลายทางบริบท และวัฒนธรรม
25,000