หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตรบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) วท.บ. (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
วิชาชีพอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อ
คุณภาพ ชีวิตที่ดีของประชาชน โดยนักอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพนั้น ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับ
การฝึกปฏิบัติ ดังนั้น หลักสูตรฯจึงนำปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยม (Progressivism) ซึ่งเป็นปรัชญาการศึกษา
ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง โดยผู้สอนจะต้องจัด
สภาพการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการศึกษาของผู้เรียน ให้อิสระ เสรีภาพในการเรียน การค้นคว้า การทดลอง คำนึงถึง
ความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนในการนำองค์ความรู้จากหลักสูตรฯ ไปประยุกต์ใช้ในชิวิต
และในการทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาประสบการณ์และความรู้โดยไม่หยุดนิ่ง เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ของสังคม โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้
ด้วยตนเอง ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อาทิ Project Based Learning
และ Research Based Learning ซึ่งจะนำไปสู่บัณฑิตที่มีความสามารถในการเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการ
แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตลอดจนประเมินปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Educational Objectives) (PEOs)
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้
1) มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์
รวม (BCG Model) และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
2) สามารถแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้
3) ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎหมายดา้ นสิ่งแวดล้อม
4) มีแนวคิดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model)
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
1.1 นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กรมควบคุมมลพิษ การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
1.2 ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
1.3 เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมประจำโรงงานอุตสาหกรรม
1.4 ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษประจำโรงงานอุตสาหกรรม
1.5 นักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
1.6 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
1.7 นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
1.8 นักวิชาการสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานต่างประเทศ เช่น United States Environmental
Protection Agency (US. EPA), World Health Organization (WHO), Centers for Disease Control and
Prevention (CDC), United Nations (UN) เป็นต้น
1.9 ผู้ประกอบการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
PLO1: ประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
PLO2: เลือกกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
PLO3: ปฏิบัติตามข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
PLO4: ริเริ่มแนวคิดการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) (Environmental Health Initiator)
30,000