สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาประยุกต์

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาประยุกต์
ภาษาอังกฤษ: Master of Science Program in Applied Sports Science and Technology

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาประยุกต์)
ชื่อย่อ : ศศ.ม. (การพัฒนาระหว่างประเทศ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Master of Arts (International Development)
ชื่อย่อ : M.A. (International Development)

ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาประยุกต์ มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตผู้มีความรู้ ทักษะในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา รวมถึงทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการทดสอบและพัฒนาวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการต่อยอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและการออกกำลังกาย ด้วยการเชื่อมโยงศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล และวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  2. เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการสร้างงานวิจัยหรือแนวคิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการกีฬาและการออกกำลังกายอย่างมีคุณภาพ และสามารถสื่อสารและใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคโนโลยีการกีฬาและการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจรรยาบรรณทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
  4. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและการออกกำลังกาย

เป็นหลักสูตรแนวใหม่ที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนจากหลากหลายศาสตร์ได้ใช้ศาสตร์ของการวิเคราะห์มาบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีความยืดหยุ่นโดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในรายวิชาที่สนใจได้มากขึ้น และได้เลือกเส้นทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเริ่มต้นจากโจทย์วิจัยที่ต้องการคำตอบแล้วเลือกเพิ่มพูนความรู้จากสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร และได้นวัตกรรมด้านสุขภาพและสารสนเทศสุขภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาประยุกต์ มุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำวิจัยและสร้างแนวคิดนวัตกรรม การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์และจัดการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อเพิ่มสมรรถนะสำหรับนักกีฬาด้วยวิทยาการที่ทันสมัย และมีความสามารถในการทำงานด้านการกีฬาที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เช่น ตามแนวโน้มของวงการกีฬาและการออกกำลังกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถประกอบอาชีพได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. บุคลากรสายวิชาการและอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
  2. นักจัดการข้อมูลโปรแกรมกีฬาและสุขภาพ
  3. นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
  4. ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
  5. นักให้คำปรึกษาออกแบบโปรแกรมการกีฬาและการออกกำลังกาย

  • PLO1  วิเคราะห์เชื่อมโยง ทฤษฎีหลักการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านการกีฬา
    • Sub-PLOs 1.1 อธิบายองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล
    • Sub-PLOs 1.2 เลือกใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมกีฬา
    • Sub-PLOs 1.3 ประยุกต์องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านการกีฬา
  • PLO2  สร้างงานวิจัยหรือแนวคิดนวัตกรรมอย่างมีคุณภาพ และสามารถสื่อสารและใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการกีฬาได้อย่างเหมาะสม
    • Sub-PLOs 2.1 สร้างงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา หรือวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีคุณภาพ
    • Sub-PLOs 2.2 มีทักษะการนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมในระดับชาติหรือนานาชาติ
  • PLO3  ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • PLO4  แสดงออกถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   160,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา  40,000 บาท

แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.1  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต (วิชาเรียนปรับพื้นฐาน)  
    2. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
       
แผน 1 แบบวิชาการ แผน 1.2  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
    3. หมวดวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
       
แผน 2 แบบวิชาชีพ  
  จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี)  
    1. หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
    3. หมวดการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
       

อ้างอิงจาก หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาประยุกต์ พ.ศ. 2566

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 27 พ.ย. 66