ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) |
ชื่อย่อ : | วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Science (Occupational Health and Safety) |
ชื่อย่อ : | B.Sc. (Occupational Health and Safety) |
หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนำแนวคิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ตามหลักการขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization) ที่สนับสนุนให้แรงงานมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการทำงาน เพื่อสร้างความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงาน ธำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และจิตสังคม โดยบุคลากรที่ต้องทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดสิทธิของแรงงานต้องมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับหลักการดังกล่าว มาออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถแก้ไขปัญหาหรือจัดหาแนวทางการจัดการปัญหาอาชีวอนามัยอย่างเป็นมืออาชีพ เข้าใจบริบทของการประกอบธุรกิจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะในการสื่อสารสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ของปัญหาและบริบทขององค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถในการบริหารจัดการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานการณ์จริงด้วยมาตรฐานสากล ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถริเริ่มแนวคิดการสร้างนวัตกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมีทักษะการใช้ชีวิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลง
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถแสดงทักษะการปฏิบัติในด้านการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระดับมืออาชีพด้วยมาตรฐานสากล ทำให้บัณฑิตสามารถทำงานในองค์กรข้ามชาติได้ ดังนั้นหลักสูตรจึงพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการกับ School of Public Health, University of Michigan, Center for Occupational Health and Safety Engineering (COHSE) ซึ่งตั้งอยู่ที่สถาบัน US National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) สำหรับการวิจัย นอกจากนี้หลักสูตรมีการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร ช่วยเพิ่มความสามารถทางภาษาอังกฤษของบัณฑิต โดยหลักสูตรปรับปรุงล่าสุดในปี 2019นี้ ถูกออกแบบภายใต้ทฤษฎีปฏิบัตินิยม เป็นปรัชญาการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้โดยการลงมือทำ คัดเลือกเนื้อหาสาระที่จำเป็นต่อสังคมในอนาคต หลักสูตรเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและทักษะทางสังคมโดยการทำงานกลุ่มที่ผู้เรียนจำเป็นต้องเข้าใจความรับผิดชอบของตน มุ่งหวังให้บัณฑิตสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลักสูตรมีการบูรณาการระหว่างหลักสูตรและสถานประกอบการผ่าน Project Based Learning (PBL) ซึ่งเป็นโครงการเรียนรู้แบบร่วมมือ นอกจากนี้ยังมีโครงการบูรณาการระหว่างการบริการชุมชนและการเรียนการสอน
1. พัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระดับสากลและจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. จัดให้บัณฑิตมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานการณ์จริง
3. ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมโดยสนับสนุนให้บัณฑิตริเริ่มและนำแนวคิดใหม่ๆ ไปใช้เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
PLO1: แสดงให้เห็นถึงจรรยาบรรณที่เหมาะสมกับวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามกฎระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับทางสังคม
PLO2: แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมที่ยอดเยี่ยม และความสามารถในการปรับตัวในการทำงานควบคู่ไปกับทักษะสังคมพหุวัฒนธรรม
PLO3: แสดงให้เห็นถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงความรู้ด้าน ICT เพื่อการวิเคราะห์และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
PLO4: ใช้ความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสุขอนามัยอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับโลกแห่งความเป็นจริงในสถานประกอบการ
PLO5: พัฒนากรอบแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมใหม่และกระบวนการทำงานเพื่อรับมือกับความท้าทายด้าน OHS ในฐานะทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
PLO6: แสดงทักษะการปฏิบัติในการจัดการ OHS ในระดับมืออาชีพตามมาตรฐานสากล
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 143 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) | |||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต | ||
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 107 หน่วยกิต | ||
1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 57 หน่วยกิต | ||
2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 46 หน่วยกิต | ||
3) กลุ่มวิชาชีพเลือก | 4 หน่วยกิต | ||
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต | ||
อ้างอิงจาก หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พ.ศ. 2565
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด พ.ค. 66