สาขาวิชาการจัดการสุขภาพชายแดน

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการจัดการสุขภาพชายแดน

หลักสูตรนี้ใช้ทฤษฎีสร้างความรู้ของผู้เรียน (Constructivism) ซึ่งมุ่งหวังให้นักศึกษาระดับปริญญาโทสามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เน้นการมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต การคิดเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมด้านการสาธารณสุข บัณฑิตจะเป็นผู้นำด้านสาธารณสุขในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร โดยได้รับการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลง การทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ และการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และนานาชาติ

 

หลักสูตรมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ที่เป็นนักวิชาการ/วิชาชีพ มีความสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความรู้และทักษะในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนตามมาตรฐานสากล สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับชุมชนและสหวิชาชีพในระดับชาติและนานาชาติ กล้าแสดงออกทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้องและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงสร้างสรรค์งานวิจัยหรือริเริ่มพัฒนานวัตกรรมด้านการสาธารณสุข หรือใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขที่ซับซ้อนได้อย่างเป็นระบบ โดยครอบคลุมกลุ่มประชากรเฉพาะ เช่น ชนชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย กลุ่มเปราะบาง ประชากรชายแดนและชายขอบ

ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพในตำแหน่งต่างๆ ได้แก่:

1.นักพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบยั่งยืนในระดับชาติและนานาชาติ

2.นักจัดการสุขภาพข้ามแดนและข้ามวัฒนธรรมในบริบทที่ซับซ้อน

3.นักจัดการสุขภาพทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน

4.นักวิชาการสาธารณสุข/นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข ทั้งในองค์กรภาครัฐและเอกชน

5.นักวิจัยทางด้านสาธารณสุข หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ

6.อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษา บัณฑิตจะแสดงคุณลักษณะดังต่อไปนี้:

PLO1: มีความซื่อสัตย์ สามารถตัดสินใจโดยใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

PLO2: สามารถอภิปรายเชื่อมโยงทฤษฎี แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติของศาสตร์ทางการสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนได้

PLO3: มีทักษะในการคิดเชิงระบบที่ซับซ้อน และบูรณาการศาสตร์ด้านสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน

PLO4: สามารถสร้างสรรค์งานวิจัย หรือริเริ่มพัฒนานวัตกรรมด้านการสาธารณสุข หรือใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานสาธารณสุขที่ซับซ้อน

PLO5: เป็นผู้นำโดยใช้ทักษะการเป็น Change Agent ในการจัดการสุขภาพของประชากรที่มีความเปราะบาง ซึ่งรวมถึงชนชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย ประชากรชายแดนและชายขอบ

PLO6: มีทักษะการทำงานเป็นทีมร่วมกับหน่วยงานด้านสุขภาพในรูปแบบสหวิชาชีพในองค์กรข้ามชาติ สามารถเลือกใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีคุณภาพและทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อวิเคราะห์ วางแผน และสื่อสารในการจัดการสุขภาพชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

PLO7: สามารถออกแบบ ดำเนินการ และประเมินผลของแผนงาน/โครงการ/ระบบสุขภาพ/ระบบประกันสุขภาพเพื่อการจัดการสุขภาพ/ระบบสุขภาพชุมชน/ชายแดนที่ซับซ้อนได้

ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตรอยู่ที่ 160,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษาอยู่ที่ 40,000 บาท
หลักสูตรใช้เวลา 4 ภาคการศึกษา

หลักสูตรมีระยะเวลา 2 ปี  และมีหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต หรือ 39 หน่วยกิต
สำหรับแผน ก2  มีแผนการศึกษา 3 แบบ:

แผน ก1 (เน้นวิทยานิพนธ์): รวม 36 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต)
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://reg.mfu.ac.th/program-infomation/625180401?tab=program-structure&admitacadyear=2566&admitsemester=1&studyplanid=665180401

แผน ก2 (มีรายวิชาและวิทยานิพนธ์): รวม 39 หน่วยกิต (วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต, วิชาเลือก 3 หน่วยกิต, วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต) 
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: reg.mfu.ac.th/program-infomation/645180402

แผน ข (มีรายวิชาและการค้นคว้าอิสระ): รวม 36 หน่วยกิต (วิชาปรับพื้นฐาน (2) ไม่นับหน่วยกิต, วิชาแกนกลาง 7 หน่วยกิต, วิชาชีพ 23 หน่วยกิต, การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต) (หรือ วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต, วิชาเลือก 3 หน่วยกิต, การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต).
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: reg.mfu.ac.th/program-infomation/645180403